วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ปืนกลหนัก

ปืนกลหนัก

 
ปืนกลหนัก Browning M2HB หรือชื่อในราชการกองทัพไทยคือ ปืนกลหนักแบบ 93 (ปกน.93)
ปืนกลหนัก (Heavy machine gun) เป็นปืนกลชนิดหนึ่งที่มีลักษณะต่างจากปืนกลเบา คือ มีขนาดและน้ำหนักของตัวปืนที่ใหญ่กว่ามาก มีอัตราการยิงสูง ส่วนใหญ่นิยมใช้สายกระสุน (Ammunition Belt) ในการบรรจุ บางรุ่นจำเป็นต้องมีขาหยั่งเพื่อติดตั้งปืนก่อนยิงเนื่องจากน้ำหนักของตัวปืนมีมาก ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปไหนได้สะดวกนัก เช่น ปืนกล 93 หรือปืนกล Browning M2HB ที่จำเป็นต้องติดตั้งบนขาหยั่ง M3 ก่อนทำการยิง
สำหรับปืนกลหนักที่ใช้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2และในปัจจุบัน เช่น ปืนกล 93 ปืนกลหนัก 66 จำเป็นต้องมีระบบระบายความร้อนที่ดีและมีลำกล้องสำรอง เนื่องจากตัวปืนเมื่อทำการยิงไปนานๆ ลำกล้องปืนจะขยายตัวจนยิงทำกลุ่มกระสุนได้ไม่ดีนักและเกลียวลำกล้องรวมถึงชิ้นส่วนต่างๆจะสึกหรอเร็วมากจากความร้อนและการเสียดสี จึงต้องมีการพักปืนเป็นระยะหลังทำการยิงเพื่อระบายความร้อนออกไปก่อน ที่สำคัญหากทำการยิงต่อเนื่องไปเรื่อยๆจะมีการสะสมความร้อนในรังเพลิง จนอาจทำให้เกิดการ Cock Off หรือการจุดระเบิดเองของกระสุนในรังเพลิง ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อพลยิงและสร้างความเสียหายแก่ตัวปืนได้

th.wikipedia.org/wiki/ปืน

ปืนกลมือ

ปืนกลมือ

 
ปืนกลมือเฮคเลอร์แอนด์คอช เอ็มพี5ถูกใช้อย่างแพร่หลายโดยผู้คุมกฎหมาย ทีมยุทธการและกองกำลังทางทหาร
ปืนกลมือหรือปกม. (อังกฤษ: Submachine Gun, SMG) เป็นปืนที่ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ มีขนาดกระทัดรัดสามารถประทับยิงคนเดียวได้อย่างรวดเร็ว มีระยะยิงหวังผลไม่ไกลนัก ซึ่งโดยทั่วไปแล้วปืนกลมือจะใช้กระสุนของปืนพกกึ่งอัตโนมัติ เนื่องจากนิยมใช้ในการยิงต่อสู้ระยะประชิดตัว และจะมีซองกระสุนที่สามารถบรรจุกระสุนได้ในปริมาณมากกว่าปืนพก
ปืนกลมือรุ่นแรกของโลกนั้นคือ ปืนกลมือ เบิร์กมันน์ เอ็มพี18 ของฝ่ายเยอรมัน ออกแบบโดย Hugo Schmeisser เมื่อปีพ.ศ. 2459 และเปิดสายการผลิตในปีพ.ศ. 2461 โดยธีโอดอร์ เบิร์กมันน์ (Theodor Bergmann) โดยเข้าประจำการในกองทัพเยอรมันเมื่อปีพ.ศ. 2461 ส่วนในประเทศไทยนั้นนิยมเรียกปืนกลมือรุ่นนี้ว่า ปืนกลแบล็คมันน์ ซึ่งใช้ในการประหารชีวิตนักโทษของกรมราชทัณฑ์

 

 ข้อดี

ปืนกลมือนั้นเหมือนปืนลูกซอง มันเหมาะสำหรับการต่อสู้ระยะใกล้หรือประชิดในสภาพแวดล้อมที่เป็นเมือง ซึ่งเป็นที่ที่ระยะยิงและความแม่นยำของอาวุธสำคัญน้อยกว่าความสามารถในการโจมตีใส่เป้าหมายได้หลายครั้ง กระสุนปืนพกเหมาะสำหรับการปะทะในเมือง ตั้งแต่ที่มันมีการเจาะทะลุที่ดีและยิงถูกเป้าหมายที่ไม่ได้ตั้งใจน้อยกว่ากระสุนของไรเฟิล

 ข้อด้อย

ในทางกลับกัน ปืนกลมือนั้นไม่ทรงประสิทธิภาพกับเกราะ ซึ่งในทางทหารยุคใหม่นั้นจะมีเกราะกันหมด ปืนกลมือไม่ค่อยมีพลังทำลายในระยะไกลและความแม่นยำที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับปืนไรเฟิล ทำให้มันมีข้อจำกัดในการใช้ในที่โล่ง

 ประวัติศาสตร์

ในช่วงต้นของทศวรรษที่ 20 มีการทดลองเปลี่ยนปืนพกจากกึ่งอัตโนมัติให้เป็นอัตโนมัติเต็มรูปแบบ กระสุนของปืนพกก็ถูกพัฒนาไปในเวลาเดียวกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยอิตาลี, เยอรมนี, และสหรัฐอเมริกา
พวกมันเริ่มเป็นที่นิยมในทศวรรษที่ 1920 และ 1930 ในฐานะอาวุธในตัวเลือกของทั้งเหล่าอาชญากรและตำรวจในอเมริกา ด้วยชื่อเสียงอันโด่งดังของปืนกลมือทอมป์สัน มันมักถูกเรียกว่า"ทอมมี่กัน" (Tommy Gun) ปืนกลมือเริ่มเป็นที่สะดุดตาด้วยการเป็นอาวุธรบในแนวหน้าในสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันปืนกลมือถูกใช้อย่างแพร่หลายโดยตำรวจ หน่วยสวาท คอมมานโดทางทหาร และหน่วยต่อต้านผู้ก่อการร้าย[1]ในหลายๆ สถานการณ์

 ทศวรรษที่ 19 ถึงทศวรรษที่ 1920

แบบจำลองของทอมป์สันกับแมกกาซีนแบบกล่อง
อาวุธอัตโนมัติแบบแรกที่ใช้กระสุนของปืนพกคือปืนกลแม็กซิมรุ่นที่ลดขนาดลงมา มันถูกใช้เพื่อสาธิตในการตลาดในทศวรรษที่ 19 ช่วงแรกของปืนกลมือมีเอกลักษณ์เป็นชิ้นส่วนของเหล็ก โดยมีแร่งอยู่ท้ายลำกล้อง ปืนกลมือปรากฏตัวในช่วงหลังของสงครามโลกครั้งที่ 1 ครั้งแรกที่เห็นมันทำหน้าที่คือในสงครามสนามเพลาะที่ที่ซึ่งระเบิดมือ ปืนพก และดาบปลายปืนมักถูกใช้งาน
ชาวอิตาเลี่ยนได้พัฒนาวิลลาร์ เพอร์โซซาในปีพ.ศ. 2458 มันถูกพิจารณาว่าเป็นปืนกลมืออันแรก เนื่องจากมันยิงกระสุนของปืนพก (9 ม.ม.กลิเซนติ) เดิมทีถูกพัฒนาให้เป็นปืนกลสำหรับอากาศยาน บางครั้งก็ถูกใช้โดยทหารราบ ทั้งสองสำหรับการจู่โจมในระยะใกล้และใช้เป็นปืนกลขนาดเบา การออกแบบของมันในท้ายสุดก็ถูกดัดแปลงให้กลายเป็นปืนกลมือเบเร็ตต้า 1918
อย่างไรก็ตาม ปืนกลมือเบิร์กมันน์ เอ็มพี18 เป็นปืนกลมือแบบแรกที่แท้จริงโดยเปรียบเทียบจากวันที่ทำต้นแบบของเบิรกมันน์กับวันที่เบเร็ตต้าเข้าประจำการ ขณะที่เบเร็ตต้า 1918 กลายเป็นแบบพื้นฐานในไม่กี่เดือนก่อนเบิร์กมันน์ เอ็มพี18 ในปีพ.ศ. 2461 เบิร์กมันน์ถูกทดสอบในแบบต้นแบบในช่วงต้นปีพ.ศ. 2459 โครงการปืนกลมือทอมป์สัเริ่มขึ้นในสมัยเดียวกัน วันและการประสบความสำเร็จที่แตกต่างกันมากมายของปืนกลมือรุ่นแรกๆ ทำให้เกิดการโต้เถียงมากมายในหมู่นักประวัติศาตร์ด้านอาวุธปืน ซึ่งบสรุปก็มีผลมาจากเชื้อชาติและการตีความของพวกเขา
เบเร็ตต้า 1918 มีพานท้ายที่ทำจากไม้ แมกกาซีนแบบกล่องบรรจุกระสุน 25 นัด และมีอัตราการยิงอยู่ที่ 900 นัดต่อนาที เยอรมันได้ใช้รุ่นที่หนักกว่าของปืนพกลูเกอร์ ติดตั้งด้วยแมกกาซีนที่ขนาดใหญ่ขึ้น ลแลำกล้องที่ยาวกว่าเดิม; มันเป็นกึ่งอัตโนมัติ มันทรงประสิทธิภาพกับเบิร์กมันน์ ซึ่ง 1918 ได้พัฒนาเอ็มพี18 เอ็มพี18 ใช้กระสุนน 9 ม.ม.แบบพาราเบลลัม โดยเป็นแมกกาซีนแบบก้นหอย เอ็มพี18ถูกใช้โดยกองทหารจู่โจมของเยอรมัน พร้อมกับยุทธวิธีที่ดี ทำให้ประสบชัยชนะที่มีชื่อเสียงในปีสุดท้ายของสงคราม อย่างไรก็ตาม มันก็ไม่เพียงพอต่อการป้องกันเยอรมันจากการพ่ายแพ้ในเดือนพฤศจิกายน ปีค.ศ. 1918
ปืนกลมือทอมป์สันได้อยู่ในการพัฒนาในช่วงใกล้เคียงกับเบิร์กมันน์และเบเร็ตต้า แต่การพัฒนานั้นก็ถูกพักในปีพ.ศ. 2460 เมื่อสหรัฐฯและนักออกแบบอาวุธ (ทอมป์สัน) ได้เข้าสู่สงคราม การออกแบบสมบูรณ์ในภายหลังและใช้ระบบภายในที่ต่างจากเอ็มพี18 หรือเบเร็ตต้า แต่มันก็พลาดโอกาสในการเป็นปืลกลมือที่ถูกออกแบบโดยเฉพาะกระบอกแรก แต่มันก็กลายเป็นอาวุธพื้นฐานและมีการใช้งานที่ยาวนานกว่าอีกสองแบบ

 ทศวรรษที่ 1920 ถึงทศวรรษที่ 1950

ปืนกลมือเอ็มพี40 ยืดพานท้าย
ปืนกลมือ แบบ ๑๐๐
ปืนกลมือ เอ็ม3
ในปีระหว่างสงคราม ปืนกลมือกลายมาเป็นที่โด่งดังในหมุ่เหล่าอาชญากร อย่าง เจมส์ แคกนี่ที่มักใช้ปืนกลมือทอมป์สันแบบแมกกาซีนกลม ทำให้ทางทหารหลีกเลี่ยงการใช้ปืนนี้ มันยังถูกใช้โดยตำรวจ แต่อาชญากรหลายคนชอบใช้เอ็ม1918 บราวน์นิ่งออโตเมติกไรเฟิล ถึงกระนั้นปืนกลมือก็เป็นที่ชื่นชอบในทางทหารมากมาย ด้วยการที่หลายประเทศเริ่มออกแบบของพวกเขา โดยเฉพาะในทศวรรษที่ 1930
ในสหภาพโซเวียต พีพีดี-40 และ พีพีดี34/38 ได้ถูกพัฒนาขึ้น ในฝรั่งเศส เอ็มเอเอสได้ถูกพันาให้เป็น เอ็มเอเอส-38 ในเยอรมนีได้มีการพัฒนาบางส่วนของเอ็มพี18 ชื่อว่าเอ็มพี28/2 และเอ็มพี34 นอกจากนั้น นาซีเยอรมันได้ปรับแต่งเอ็มพี38 มันไม่ใช้ไม้และมีพานท้ายแบบโลหะที่พับได้ อิตาลีได้พัฒนาไปไกลกว่านั้น ด้วยจำนวนของการออกแบบที่มาก ด้วยการมีราคาที่ต่ำ คุณภาพหรือน้ำหนัก
ในช่วงการบุกโปแลนด์ของนาซีเยอรมันในปีพ.ศ. 2482 การผลิตเอ็มพี38 เพิ่งเริ่มขึ้นและมีแค่ไม่กี่พันกระบอกที่เข้าประจำการ แต่มันพิสูจน์ถึงการใช้อย่างแพร่หลายในเมือง จากนั้น รุ่นที่ปลอดภัยกว่าและถูกกว่าได้กำเนิดขึ้น เอ็มพี40 มีเอ็มพี40 เป็นล้านกระบอกถูกผลิตในสงครามโลกครั้งที่ 2 การออกแบบของเอ็มพี40 นั้นใช้เหล็กแบบอะลูมิเนียม แต่มันก็มีน้ำหนักเบาแม้ว่าจะไม่ทนทาน เนื่องมาจากมันลดชิ้นส่วนที่หนักของเอ็มพี38
อังกฤษได้พัฒนาปืนกลมือแลนเชสเตอร์ มีพื้นฐานมาจากเอ็มพี28/2 แต่เนื่องด้วยอัตราการผลิตที่ต่ำและราคาที่แพงทำให้นำไปสู่การสร้างปืนที่ง่ายกว่า, ถูกกว่าและรวดเร็วกวาส ปืนกลมือสเตน ปืนสเตนนั้นถูกมากในช่วงจบของสงครามโลกครั้งที่ 2 นาซีเยอรมันเริ่มผลิตรุ่นเลียนแบบของพวกเขาเอง อังกฤษยังใช้เอ็ม1928 ทอมป์สัน และรวมทั้งเอ็ม1 ที่พัฒนาแล้วอีกมากมาย หลังจากสงคราม สเตนถูกแทนที่ด้วยปืนกลมือสเตอร์ลิ่ง
อเมริกาและพันธมิตรได้ใช้ปืนกลมือทอมป์สัน โดยเฉพาะเอ็ม1ซึ่งไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้กับแมกกาซีนแบบกลม เนื่องจากทอมป์สันยังมีราคาแพงในการผลิต ปืนกลมือ เอ็ม3 จึงถูกสร้างขึ้นมาในปีพ.ศ. 2485 ตามมาด้วยการพัฒนาเอ็ม3เอ1ในปีพ.ศ. 2484 เอ็ม3นั้นไม่ได้มีประสิทธิภาพมากกว่าเลย แต่มันถูกสร้างขึ้นด้วยเหล็กราคาถูก ทำให้มันสามารถสร้างได้มากกว่า มันสามารถยิงได้กระสุนแบบ.45 เอพีซี ซึ่งทอมป์สันและปืนพกโคลท์ เอ็ม1911ใช้ยิง หรือประสุนแบบ 9 ม.ม.ลูเกอร์ ถูกใช้อย่างแพร่หลายโดยฝ่ายพันธมิตรและฝ่ายอักษะ มันเป็นหนึ่งในปืนกลมือที่ประจำการยาวนานที่สุดในสงคราม ถูกผลิตจนถึงทศวรรษที่ 1960 และประจำการอยู่ในกองทัพของสหรัฐฯจนถึงทศวรรษที่ 1980
ฟินแลนด์ได้พัฒนาปืนกลมือ เอ็ม/31 ก่อนจะถึงสงครามฤดูหนาว ซึ่งมันถูกใช้มากมาย อาวุธนี้ใช้กระสุนแบบ 9 ม.ม.พาราเบลลัม ตั้งแต่แมกกาซีนแบบกลมด้วยความจุ 70 นัด (แม้ว่าบ่อยครั้งที่จะใช้จุมากถึง 74 นัด) แม้ว่าอเมริกาจะใช้แมกกาซีนแบบแท่งกับทอมป์สัน และชาวรัซเซียขนแมกกาซีนแบบกลมไม่มากนัก (ปกติมักจะแค่หนึ่ง และที่เหลือก็จะเป็นแบบแท่ง) ปืนกลมือของฟินแลนด์มักใช้แมกกาซีนแบบกลมมากกว่า และมีโอกาสขัดลำกล้องน้อยกว่าแบบแท่ง อาวุธนี้ถูกใช้จนกระทั่งจบสงครามแลปแลนด์ และในช่วงสงครามสงบในทศวรรษที่ 1990
เมื่อจบสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตได้เก็บปืนกลมือไว้มากมาย อย่างพีพีเอสเอช-41 ซึ่งทหารราบทั้งกองพันสามารถใช้ได้เพียงเล็กน้อยของจำนวนเท่านั้น กองทหารของเยอรมันได้ตั้งกองทหารที่รับผิดชอบเรื่องปืนกลมือ การค้นพบเริ่มขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งอัตราการยิงที่สูงเป็นประสิทธิภาพที่ดี แต่เพราะว่าความแม่นยำที่น้อย มันจึงส่งผลให้เกิดการพัฒนาปืนเล็กยาวจู่โจมขึ้นมา

 ทศวรรษที่ 1950 ถึงปัจจุบัน

เอฟเอ็น พี90ตัวอย่างของอาวุธป้องกันตัวและปืนกลมือที่ถูกพัฒนาในปีค.ศ. 1980
ปืนกลมือได้มีการพัฒนาตนเองในเรื่องการลดการหยุดยั้ง โดยเฉพาะอย่างยิงในกรณีที่ซึ่งอาวุธบรรจุด้วยกระสุนที่มีความเร็วต่ำกว่าเสียง แบบมากมายของสเตนและเฮคเลอร์แอนด์คอช เอ็มพี5รุ่นใหม่ได้ถูกผลิตด้วยตัวหยุดแบบสมบูรณ์ และอาวุธแบบนี้มักถูกใช้โดยหน่วยรบพิเศษและตำรวจ หลังจากสงครามเกาหลีจบลง บทบาทของปืนกลมือในกองทัพก็ลดลงไปด้วย ทั้งปืนกลมือและปืนเล็กยาวถูกแทนที่โดยปืนเล็กยาวจู่โจมแบบใหม่ อย่างซีเออาร์-15 และเฮคเลอร์แอนด์คอช เอชเค53 ปืนกลมือถูกใช้โดยหน่วยรบพิเศษและหน่วยต่อต้านผู้ก่อการร้ายที่ปฏิบัติการในสภาพแวดล้อมที่เป็นเมืองหรือในบริเวณที่คับแคบ และเป็นอาวุธป้องกันตัวของลูกเรือในเครื่องบิน พลประจำยานเกราะ และทหารเรือ แม้ว่าปืนกลมือมีความกระชับสำหรับผู้ใช้ แต่มันก็ยังต้องแข่งขันกับปืนคาร์บินและปืนเล็กยาวจู่โจมที่มีความยาวสั้น อำนาจของปืนกลมือในการรักษากฎหมายได้ถูกลดลงโดยการพัฒนาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 ปัจจัยอย่างการใช้ประโยชน์ที่มากของปืนเล็กยาวจู่โจมและคาร์บิน และการใช้ที่เพิ่มขึ้นของเกราะลำตัวได้ผสมผสานกันจนถึงขีดสุดของปืนกลมือ ปืนเล็กยาวจู่โจมและคาร์บินได้เข้ามาแทนที่ปืนกลมือในบางบทบาท อย่างไรก็ตาม ปืนเล็กยาวจู่โจมก็ไม่ได้แทนที่อย่างสมบูรณ์ เพราะน้ำหนักของมัน มันยังมีปากกระบอกที่ใหญ่กว่า แรงถีบที่มากกว่าและดูเหมือนว่าการทะลุทะลวงของมันจะมากเกินไป เนื่องจากกระสุนของมัน
ผู้ที่จะมาแทนที่ปืนกลมือก็ยังมีอาวุธป้องกันบุคคลหรือพีดีดับบลิว (Personal Defense Weapon, PDW) และปืนที่คล้ายปืนพกกลซึ่งยิงกระสุนแบบเจาะเกราะ พีดีดับบลิวทำงานคล้ายปืนกลมือและมักถูกจำแนกว่าเป็นอย่างเดียวกัน อย่างไรก็ตาม กระสุนแบบพิเศษของอาวุธป้องกันตัวนั้นไม่สามารถนำไปใช้ได้กับปืนพกและปืนเล็กยาวแบบทั่วไป และมันมีประสิทธิภาพน้อยกว่ากระสุนของปืนเล็กยาวเมื่อเจอกับเป้าหมายที่ไม่ได้หุ้มเกราะ แนวทางของปืนกลมือยุคใหม่นั้นจะมีน้ำหนักเบาขึ้น เป็นอาวุธที่มีขนาดเล็กและอาจใช้พลาสติก

th.wikipedia.org/wiki/ปืน

ปืนใหญ่

ปืนใหญ่

ทหารอังกฤษยิงปืนใหญ่โฮวิตเซอร์ในศึกแม่น้ำซอมม์ (สงครามโลกครั้งที่ 1)
ปืนใหญ่คืออาวุธยิงระยะไกล อำนาจการทำลายล้างสูง ด้วยการใช้พลังดินปืนขับเคลื่อนกระสุนให้เคลื่อนที่ออกไปในวิถีโค้ง ก่อนที่จะตกกระทบยังเป้าหมาย สร้างความเสียหายแก้เป้าหมายอย่างรุนแรง

 ปืนใหญ่ในประเทศไทย

ปืนใหญ่ในประเทศไทยนั้น ได้ถูกนำมาใช้เป็นเวลาช้านานแล้ว ในหนังสือวิวัฒนาการแห่งศัสตราวุธในกองทัพบกไทย พบหลักฐานว่ามีการใช้ปืนใหญ่สมัยสุโขทัยว่า ชวาเก็บปืนใหญ่ไทย จำนวน 2 กระบอกจากการรบกับพวกมัชฌปาหิต ในสงครามตีเมืองชวาประมาณ พ.ศ. 1857 มีบันทึกในพระราชพงศาวดารว่าในสมัยสมเด็จพระราเมศวร กองทัพอยุธยาใช้ปืนใหญ่ยิงกำแพงเมืองเชียงใหม่พังไป 6 วา และในกฎหมายสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ก็มีการกล่าวถึงหน่วยทหารปืนใหญ่เช่นกัน[1] และต่อมา หลังจากที่โปรตุเกสเดินทางเข้ามาถึงกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ก็เริ่มมีการซื้อปืนใหญ่ของโปรตุเกสเข้ามาประจำการในกองทัพไทย
อย่างไรก็ตาม คุณภาพการหล่อปืนใหญ่ของของไทยนั้น มีคุณภาพดีเป็นที่เลื่องลือมาก โชกุนโทะกุกะวะ อิเอะยะสุเคยส่งสารมาทูลขอพระราชทานปืนใหญ่และไม้หอมจากสมเด็จพระเอกาทศรถ นอกจากนี้ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ได้ทรงส่งปืนใหญ่ที่ผลิตในไทยไปถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 2 กระบอก และได้มีบันทึกต่อมาว่า ปืนสองกระบอกนี้เองได้ถูกใช้ยิงทลายประตูคุกบาสตีย์ ปัจจุบันปืนคู่นี้ถูกตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์ทหารบกฝรั่งเศส

th.wikipedia.org/wiki/ปืน

วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ปืนเล็กยาวจู่โจม

ปืนเล็กยาวจู่โจม 

ปืนไรเฟิลจู่โจมเอ็ม16 ถูกใช้ครั้งแรกโดยกองทัพอากาศสหรัฐฯ และใช้กระสุน 5.56x45 ม.ม.แบบนาโต้
Sterling SAR-87.
TKB-059.
AO-63.
ปืนเล็กยาวจู่โจม หรือ ปืนไรเฟิลจู่โจม เป็นปืนเล็กยาว (ปลย.) หรือปืนเล็กสั้น (ปลส.)ซึ่งยิงด้วยระบบอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติไปตามวงรอบจนกว่ากระสุนจะหมด ด้วยอัตราการยิงค่อนข้างสูง ปืนเล็กยาวจู่โจมเป็นอาวุธประจำกายของทหารในราชการกองทัพเป็นส่วนใหญ่ โดยมีการจัดกำลังใหม่ให้ 1 หมู่ (Squad) ต้องมีพลยิงใช้ปืนเล็กยาว 5 นายและอีก 1 นายใช้ปืนเล็กกล (Battle rifle) ที่มีอัตราการยิงสูงกว่า เช่น ปืนเล็กยาว เอ็ม1 กาแรนด์และเอสวีที-40 ในสงครามโลกครั้งที่สอง ตัวอย่างสำหรับปืนเล็กยาวจู่โจม เช่น เอเค 47 เอ็ม16 ฟามาส สไตเออร์ เอยูจี ปืนเล็กยาวกึ่งอัตโนมัติก็ได้แก่ เออาร์-15

 

คำนิยาม

คำว่าปืนเล็กยาวจู่โจมหรือปืนไรเฟิลจู่โจมนั้นเป็นคำแปลมาจากคำในภาษาเยอรมัน คือ Sturmgewehr ("ไรเฟิลพายุ") ที่ตั้งโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ "พายุ"ถูกใช้เป็นการเปรียบเทียบกิริยาการโจมตี อย่างการระดมโจมตีที่เสมือนพายุกระหน่ำ
การแปลความหมายของปืนเล็กยาวจู่โจมหรือปืนไรเฟิลจู่โจมกลายมาเป็นชื่อโดยทั่วไปของอาวุธปืนที่ได้รับออกแบบเหมือนกับเอสทีจี 44 (Sturmgewehr 44, StG 44) ในการจำกัดความนั้น อาวุธปืนจะต้องมีสิ่งต่อไปนี้จึงจะจัดว่าเป็นปืนเล็กยาวจู่โจม
  • ต้องเป็นอาวุธที่ต้องทำการยิงโดยประทับบ่า
  • ต้องสามารถยิงแบบอัตโนมัติได้ ด้วยอัตราการยิงที่ค่อนข้างถี่
  • ต้องใช้กระสุนที่มีอำนาจการยิงที่จะหยุดยั้งข้าศึกได้
  • ซองกระสุนสามารถจุลูกกระสุนได้มากๆ (20-30 นัดขึ้นไป)

กองทัพสหรัฐฯ นิยามปืนเล็กยาวจู่โจมไว้ว่า"เป็นอาวุธที่สั้น กระชับ มีระบบการยิงที่เลือกได้ ซึ่งใช้กระสุนที่มีอำนาจการยิงระหว่างปืนพกกับปืนเล็กยาว"

 อาวุธจู่โจมกับอาวุธอัตโนมัติ

ข้อจำกัดหลักตามสหรัฐอเมริกาในคำว่าอาวุธจู่โจม (อังกฤษ: assault weapon) เป็นคำทางกฎหมาย แยกจากคำที่ใช้ทางเทคนิค ใช้เพื่อบรรยายถึงอาวุธปืนกึ่งอัตโนมัติที่มีจุดเด่นเหมือนกับปืนเล็กยาวจู่โจมของกองทัพ มีการนิยามว่าปืนเล็กยาวจู่โจมต้องใช้แมกกาซีนที่ถอดออกได้และเป็นอาวุธปืนกึ่งอัตโนมัติ และดังนี้
  • พานท้ายที่พับได้
  • ด้ามจับแบบปืนพกที่เห็นได้ชัดเจน
  • มีดาบปลายปืน
  • มีทีเก็บเสียงและแสง
  • มีเครื่องยิงลูกระเบิด
  • มีการปกปิดลำกล้อง
การห้ามอาวุธจู่โจมไม่ได้จำกัดอาวุธที่สามารถยิงได้อย่างอัตโนมัติ อย่าง ปืนเล็กยาวจู่โจมและปืนกล อาวุธที่เป็นอัตโนมัติสมบูรณ์ไม่ได้รับผลจากการสั่งห้ามและยังถูกควบคุมอยู่

 ประวัติ

 การเปลี่ยนโฉมหน้าการต่อสู้ของทหารราบ

ตั้งแต่สมัยโบราณ ทหารราบเบาต้องต่อสู้ในรูปขบวนที่กระจายออก ในขณะที่ทหารราบหนักต้องต่อสู้ในรูปขบวนที่แน่นหนา สิ่งนี้ทำให้อาวุธขว้างและหอกถูกแทนที่ด้วยปืนคาบศิลาและดาบปลายปืน เครื่องแบบที่มีสีสด (เยอรมัน=น้ำเงิน รัสเซีย=เขียว อังกฤษ=แดง ฝรั่งเศส=ขาว) กลายมาเป็นพื้นฐานของหน่วยที่ต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้มองเห็นได้ท่ามกลางกลุ่มควันจากดินปืน ปืนคาบศิลาไร้ความแม่นยำในระยะไกลตั้งแต่ 50-100 เมตรและบรรจุกระสุนได้ช้า ซึ่งนำไปสู่รูปขบวนแบบหลายแถวเพื่อเพิ่มอำนาจการยิงและทำให้มั่นใจว่าส่วนหนึ่งของหน่วยจะต้องเตรียมพร้อมสำหรับการยิงเสมอ รูปขบวนที่แน่นยังช่วยให้นายทหารควบคุมคนของเขาได้ขณะทำการต่อสู่
การนำปืนคาบศิลาที่ภายในลำกล้องเป็นเกลียวนั้นเริ่มในทศวรรษที่ 19 ได้เพิ่มระยะและอำนาจการยิงของปืน และทำการรบจากรูปขบวนที่สร้างการนองเลือด อย่างที่เห็นได้ในสงครามกลางเมืองอเมริกัน นักวางแผนยุทธการได้ให้การเน้นสำคัญไปที่อาวุธปืนมากขึ้นให้มีความแม่นยำ ไว้ใจได้ และอัตราการยิงที่ดี ทหารม้าเลิกใช้ม้าและลงมาใช้ปืนเล็กยาวแทน
หลังจากสงครามกลางเมืองอเมริกันการพัฒนาเพิ่มอย่างการใช้ปืนเล็กยาวที่ใช้แมกกาซีน ปืนกล และระเบิดแรงสูงจากปืนใหญ่ได้นำจุดจบมาสู่รูปขบวนแบบหนาแน่นในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มันหมายถึงในทางปฏิบัติแล้วทหารราบไม่จำเป็นต้องปะทะกับศัตรูจากระยะไกลในสมรภูมิอีกต่อไป ปืนเล็กยาวแบบลูกเลื่อนพลังสูงในตอนนั้นไม่ต้องใช้ในระยะประชิดอีกแล้วในสงครามปัจจุบัน ผู้นำทางทหารและบริษัทผู้ผลิตอาวุธได้เริ่มทำอาวุธใหม่เพื่อสงครามยุคใหม่

 ทศวรรษที่ 1900-1930: ก่อนปืนเล็กยาวจู่โจมเอสทีจี 44

อาวุธปืนอัตโนมัติต่อไปนี้คาดว่าใช้ก่อนที่จะมีปลอกกระสุนปืนเล็กยาว พลังงานเคลื่อนที่จะอยู่ระหว่าง 3,000-5,000 จูล ความเร็วที่ 750-900 เมตรต่อวินาที และลูกกระสุนหนัก 9-13 กรัม
การใช้งานของสิ่งที่เกิดก่อนปืนเล็กยาวจู่โจมคือเฟเดรอฟ อัฟโตมัทของรัสเซียในปีพ.ศ. 2458 และกระสุนปลอกขนาด 6.5x50 ม.ม.ของญี่ปุ่น แต่ของรัสเซียนั้นถูกใช้ในจำนวนที่น้อยมาก และมันยังไม่ใช่ปืนเล็กยาวจู่โจมจริงๆ ตามหลักปัจจุบันเพราะว่ามันไม่ใช้กระสุนแบบกลาง
ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ปืนโชแชท (Chauchat) ของฝรั่งเศสได้ปรากฏตัวขึ้น ปืนกลขนาดเบาและบรรพบุรุษของปืนเล็กยาวจู่โจมในปัจจุบัน มันถูกผลิตออกมาในจำนวนที่มาก (ประมาณ 250,000 กระบอก) เช่นเดียวกับปืนเล็กยาวจู่โจมในเวลาต่อมาคือมันสามารถยิงได้ทั้งแบบทีละนัดและแบบอัตโนมัติ และใช่แมกกาซีนและยังมีด้ามจับปืนพก เมื่อเทียบกับปืนกลขนาดเบาแบบอื่นในช่วงเวลานั้นโชแชทนั้นเบามากด้วยน้ำหนัก 9 กิโลกรัมแต่มันยังอุ้ยอ้ายในการต่อสู้ระยะใกล้และมีแรงถีบที่มากเกินที่จะควบคุมเมื่อยิงแบบอัตโนมัติเนื่องมาจากการใช้กระสุนที่ทรงพลังขนาด 8 ม.ม.หรือ .30-06 สปนิงฟีลด์ของสหรัฐฯ และกระสุนคาลิเบอร์ขนาด 7.92 หรือ 7.65 ถึงแม้ว่าจะมีข้อบกพร่องที่ร้ายแรงมันก็ยังสำคัญต่อการรบของทหารราบต่อทหารเยอรมันที่หมดหวังผู้ที่ไม่มีอาวุธที่เทียบเท่ากับปืนโชแชท พวกเยอรมันจึงเริ่มใช้อาวุธที่ยึดได้ ในขณะที่มันออกแบบมาเพื่อใช้กระสุนคาลิเบอร์เต็มขนาดและดังนั้นก็ไม่ได้ใช้ปลอกกระสุนกลาง มันเป็นอาวุธกลางระหว่างปืนกลมือและปืนกลขนาดหนักอย่างปืนเลวิส
ริเบย์รอล 1918 (Ribeyrolle 1918) อาจเป็นอาวุธขนาดกระทัดรัดที่เลือกการยิงได้แบบแรกโดยใช้กระสุนกลางที่ในปัจจุบันนิยามว่าเป็นปืนเล็กยาวจู่โจม ปลอกกระสุนมีพื้นฐานมาจากปลอก .351 วินเชสเตอร์และแคบจนเป็นกระสุน 8 ม.ม.เลเบล มันปรากฏตัวครั้งแรกในกองทัพเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 มันมีชื่อเป็นทางการว่าปืนคาร์บินกล Carabine Mitrailleuse (อังกฤษ: machine carbine; เยอรมัน: Maschinenkarabiner) มันถูกยกเลิกในปีพ.ศ. 2464 เพราะว่ามันไม่แม่นยำพอในระยะไกลเกิน 400 เมตร
ปืนเล็กกล เอ็ม 1918 บราวน์นิงหรือบาร์ (อังกฤษ: M1918 Browning Automatic Rifle, BAR) ได้เลียนแบบความคิดของโชแชทแต่ไม่ได้ผลิตออกมาหรือใช้ในจำนวนที่มากจนกระทั่งจบสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การพัฒนาต่อมาได้เพิ่มลำกล้องและไฟพ็อคที่หนักขึ้นซึ่งทำให้มันเหมือนกับปืนกลขนาดเบาหรืออาวุธอัตโนมัติประจำหมู่ในปัจจุบัน บาร์รุ่นนี้ถูกผลิตออกมาจำนวนมาก ใช้อย่างกว้างขวาง และทำหน้าที่ได้ดีในทศวรรษที่ 1960 ในกองทัพของสหรัฐฯ และชาติอื่นๆ
ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ปืนกลมือได้เข้ามามีบทบาทเช่นกัน อย่างวิลลาร์ เพอโรซา เบเรทต้า โมเดล 1918 และเอ็มพี18อาวุธเหล่านี้ได้มีองค์ประกอบเหมือนกันกับปืนเล็กยาวจู่โจม แต่พวกมันใช้กระสุนขนาด 9x19 ม.ม.ของของปืนพก ผู้สร้างปืนกลมือทอมป์สันเดิมทีตั้งใจที่จะใช้กระสุนของปืนเล็กยาว อย่างไรก็ตามระบบกลไกที่สามารถรับมือพลังของพวกมันได้นั้นไม่มีและกระสุน .45 เอซีพีจึงถูกเลือกมาใช้แทน อาวุธปืนเหล่านี้ถูกจัดว่าเป็นส่วนหนึ่งในชั้นของปืนกลมือ แต่เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการพัฒนาปืนเล็กยาว

http://en.wikipedia.org/wiki/Assault_rifle

ปืนเล็กยาว

ปืนเล็กยาว

ปืนเล็กยาวหรือปืนไรเฟิลเป็นอาวุธปืนที่ถูกออกแบบมาให้ยิงโดยการประทับไหล่ ภายในลำกล้องมีการเซาะให้เป็นสันและร่องเกลียวที่ผนังลำกล้อง ซึ่งสันเกลียวเรียกว่า "Land" ส่วนร่องเกลียวเรียกว่า "Groove" ซึ่งสันเกลียวนี้จะสัมผัสกับหัวกระสุนและรีดหัวกระสุนไปตามสันเกลียวและหมุนควงรอบตัวเอง เพื่อรักษาการเคลื่อนที่ของหัวกระสุนมิให้ตีลังกาในอากาศและเพื่อเพิ่มความแม่นยำตลอดจนอานุภาพสังหาร เทียบได้กับการขว้างลูกบอลในกีฬาอเมริกันฟุตบอลหรือกีฬารักบี้ คำว่า"ไรเฟิล (Rifle)" นั้นมาจากคำว่า Rifling ซึ่งแปลว่าการทำให้เป็นร่อง นิยมใช้ในราชการสงคราม การล่าสัตว์ หรือกีฬายิงปืน
ในทางทหารแล้วคำว่า "ปืน (Gun)" ไม่ได้หมายถึงปืนเล็กยาว ในทางทหารคำว่า"ปืน (Gun)"หมายถึง ปืนใหญ่ นอกจากนี้ ในงานนวนิยายหลายเรื่อง คำว่าปืนเล็กยาวหรือปืนไรเฟิลจะหมายถึงอาวุธใดๆ ก็ตามที่มีพานท้ายและต้องประทับบ่าก่อนยิง ถึงแม้ว่าอาวุธดังกล่าวจะไม่ได้ทำร่องในลำกล้องหรือไม่ได้ยิงกระสุนก็ตาม

 คำอธิบาย

ร่องที่เป็นเกลียวในลำกล้องของปืนเล็กยาว
เดิมทีแล้ว ปืนเล็กยาวถูกใช้โดยนักแม่นปืน ขณะที่ทหารราบจะใช้อาวุธที่ทรงอานุภาพมากกว่า อย่างปืนคาบศิลา ซึ่งจะยิงกระสุนกลมๆ ซึ่งอาจมีขนาดถึง 19 ม.ม. (0.75 นิ้ว) เบนจามิน โรบินส์ เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้รู้ว่ากระสุนจะพุ่งได้เร็วกว่ากระสุนแบบกลม งานของโรบินส์และคนอื่นๆ นั้น กว่าจะได้การยอมรับก็ต้องรอจนถึงทศวรรษที่ 18
ในช่วงกลางทศวรรษที่ 19 อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงที่เหมาะสมทำให้ปืนคาบศิลาถูกแทนที่ด้วยปืนเล็กยาว—มักจะยิงทีละนัด บรรจุกระสุนทางด้านท้าย—ถูกออกแบบมาเพื่อการเล็ง , จะถูกยิงอย่างรอบคอบโดยทหารบางคน จากนั้น จนถึงปัจจุบัน ปืนเล็กยาวก็เริ่มมีพานท้าย เพื่อประทับยิง ปืนเล็กยาวของกองทัพในช่วงแรก อย่าง ปืนไรเฟิลบาร์คเกอร์ มันมีขนาดสั้นกว่าปืนคาบศิลา และมักใช้โดยพลแม่นปืน จนกระทั่งทศวรรษที่ 20 ปืนเล็กยาวเริ่มมีความยาวมาก—ปืน 1890 มาตินี่ เฮนรี่ มีความยาวเกือบ 2 เมตร และติดดาบปลายปืน ความต้องการอาวุธที่กระชับขึ้นของทหารม้าทำให้เกิดปืนเล็กสั้น (Carbine) ขึ้นมา


ปืนต่อสู้รถถัง

ปืนต่อสู้รถถัง
ปืนต่อสู้รถถัง (อังกฤษ: Anti-tank gun; AT-Gun) จัดเป็นปืนใหญ่ มีวิถีราบ อำนาจการยิงไกล มีความเร็วต้นของกระสุนและอำนาจทะลุทะลวงสูง พัฒนามาจากปืนใหญ่วิถีราบ (อังกฤษ: Cannon) หรือปืนใหญ่สนาม (อังกฤษ: Field Gun) ในสมัยแรก ปืนต่อสู้รถถังบางส่วนได้รับการพัฒนามาจากปืนต่อสู้อากาศยานที่มีขนาดลำกล้องใหญ่ โดยเปลี่ยนจากใช้กระสุนระเบิดแรงสูง (High-explosive ; HE) มาเป็นกระสุนเจาะเกราะ (Armor-Piercing ; AP) เช่น ปืน Flak 36 ขนาด 88 มม.ของนาซีเยอรมัน ปืน M1 gun ขนาด 90 มม.ของสหรัฐอเมริกา ฯลฯ เป็นต้น

ลักษณะทั่วไป
ภารกิจของปืนต่อสู้รถถังนั้นใช้สำหรับยิงทำลายรถถังเป็นหลัก ส่วนภารกิจรองใช้ยิงสังหารบุคคลหรือทำลายสิ่งก่อสร้าง ปกติกระสุนพื้นฐานจะเป็นกระสุนระเบิดแรงสูง (High-explosive ; HE) และกระสุนระเบิดแรงสูงต่อสู้รถถัง (High-explosive, anti-tank ; HEAT) แต่ปืนต่อสู้รถถังบางรุ่น เช่น OQF 6 pdr. (M1 57 mm. Gun) และ OQF 17 pdr. ของอังกฤษจะมีกระสุนเจาะเกราะแบบสลัดเปลือกหุ้มทิ้งเอง (Armour-piercing discarding sabot ; APDS) เพิ่มขึ้นมา เพื่อเพิ่มอำนาจในการทะลุทะลวงเกราะของรถถังที่สูงขึ้นด้วย
กระสุนนัดที่ 3 และ 5 จากทางซ้าย กระสุนเจาะเกราะแบบ APDS ของปืน OQF 6 pdr. และ OQF 17 pdr. ตามลำดับ
ปืนต่อสู้รถถังนั้นมักจะมีแผ่นเกราะกำบังด้านหน้าเพื่อป้องกันอันตรายจากกระสุนปืนและสะเก็ดระเบิดจากฝ่ายตรงข้าม มีพลปืนจำนวน 3 คน โดย 2 คนจะเป็นพลบรรจุกระสุนและพลยิง ส่วนอีก 1 คนจะเป็นพลเล็งเป้า โดยปืนต่อสู้รถถังสามารถเคลื่อนย้ายได้ด้วยแรงคนในระยะใกล้หรือใช้รถหรือสัตว์ลากจูงในระยะไกล
จากคุณสมบัติดังกล่าวของปืนต่อสู้รถถัง จึงมีบางชาตินำรถถังรุ่นเดิมมาทำการปรับปรุงด้วยการติดตั้งปืนชนิดนี้เข้าไปแทน รวมทั้งมีการออกแบบรถถังรุ่นใหม่บางรุ่นให้ติดตั้งปืนชนิดนี้มาแต่แรก เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพในการยิงทำลายรถถังด้วยกันโดยเฉพาะรถถังของหน่วย Panzer ที่มีเกราะด้านหน้าและด้านข้างหนา เช่น รถถัง Tiger I รถถัง Pantherฯลฯ ของนาซีเยอรมันในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งรถถังที่มีการปรับปรุงหรือติดตั้งปืนชนิดนี้ ได้แก่ รถถัง Sherman Firefly ของกองทัพอังกฤษ ซึ่งทำการติดตั้งปืน OQF 17 pdr. ขนาด 76.2 มม.แทนปืนใหญ่รถถัง M3 L/40 gun ขนาด 75 มม.ของเดิม
ส่วนปืนต่อสู้รถถังบางส่วนได้รับการปรับปรุงเป็นปืนใหญ่รถถัง อาทิเช่น ปืน M3 L/53 gun ขนาด 90 มม.ติดตั้งบนรถถัง M26 Pershing ปืน KwK 36 L/56 ติดตั้งบนรถถัง Tiger I ปืน M6 Gun ขนาด 37 มม.ติดตั้งบนรถถัง M3 Stuart ฯลฯ เป็นต้น
ปืน PaK 38 ขนาด 50 มม. ของนาซีเยอรมัน
รถถัง Sherman Firefly
ปืนต่อสู้รถถัง PaK43 ขนาด 88 มม. ของนาซีเยอรมัน
กระสุนนัดที่ 7 คือกระสุนขนาด 88 มม. ของปืน Flak 18/36/37/41 ส่วนนัดที่ 8 คือกระสุนขนาด 88 มม. ของปืน PaK43 และปืนใหญ่รถถัง KwK 43 L/71

 รายชื่อปืนต่อสู้รถถังบางส่วน

กระสุนเจาะเกราะ (AP) ขนาด 76.2 มม.ของปืน OQF 17 pdr.
ปืนต่อสู้รถถังขนาดลำกล้องขนาดกระสุนประเทศผู้ผลิต
Bofors 37 mm. (PaK 36 , PaK 157)37 มม. (1.45 นิ้ว)37 × 249 mm. RFlag of สวีเดน สวีเดน
FlaK 18, 36, 37 ,4188 มม.88 × 571 mm. RFlag of นาซีเยอรมัน นาซีเยอรมัน
M3 37 mm. Gun37 มม. (1.45 นิ้ว)37 × 223 mm. RFlag of the United States สหรัฐอเมริกา
M1930 (1-K)37 มม. (1.45 นิ้ว)37 × 257 mm. RFlag of the Soviet Union สหภาพโซเวียต
M1937 (53-K)45 มม. (1.77 นิ้ว)45 × 310 mm. RFlag of the Soviet Union สหภาพโซเวียต
M1942 (M42)45 มม. (1.77 นิ้ว)45 × 386 mm. SRFlag of the Soviet Union สหภาพโซเวียต
M2 90 mm. Gun90 มม.90 × 600 mm. RFlag of the United States สหรัฐอเมริกา
M5 3 inch Gun76.2 มม. (3 นิ้ว)76.2 × 585 mm. RFlag of the United States สหรัฐอเมริกา
Ordnance QF 2 pdr.40 มม. (1.57 นิ้ว)40 × 304 mm. RFlag of the United Kingdom สหราชอาณาจักร
Ordnance QF 6 pdr. (M1 57 mm. Gun)57 มม. (2.24 นิ้ว)57 × 441 mm. RFlag of the United Kingdom สหราชอาณาจักร
Ordnance QF 17 pdr.76.2 มม. (3 นิ้ว)76.2 × 583 mm. RFlag of the United Kingdom สหราชอาณาจักร
PaK 3850 มม.50 × 419 mm. RFlag of นาซีเยอรมัน นาซีเยอรมัน
PaK 97/3875 มม.75 × 338 mm. RFlag of นาซีเยอรมัน นาซีเยอรมัน
PaK 4075 มม.75 × 714 mm. RFlag of นาซีเยอรมัน นาซีเยอรมัน
PaK 4388 มม.88 × 822 mm. RFlag of นาซีเยอรมัน นาซีเยอรมัน